การเลือกตั้งอย่างมีวิจารณญาณ
การเลือกตั้งเป็นสิทธิและหน้าที่ของของประชาชนชาวไทยที่สำคัญยิ่งในกระบวนการทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดไว้ว่า “บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้
ยอมเสียสิทธิตามกฎหมายบัญญัติ” เพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งการต้องการของประชาชนที่สนับสนุนหรือคัดค้านการตัดสินใจของผู้นำในทางการเมือง
การเลือกตั้งจึงถือว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองที่สำคัญ
คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Think
critically)
บุคคลในระบอบประชาธิปไตยจะต้องได้รับข้อมูลที่เพียงพอเพื่อคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีมีทักษะในการตรวจสอบ
การตีความ การสะท้อนความคิด อันนำไปสู่การสร้างความคิดเห็นของตนเอง
เรียนรู้ที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตน
และพร้อมที่จะทบทวนแก้ไขความคิดเห็นของตน ตลอดจนรู้จักตัดสินใจเลือกบุคคล
หรือตัดสินประเด็นทางการเมืองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
; วิธีการลงคะแนนเสียงที่ถูกต้อง
Ø แสดงตนพร้อมบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย
Ø ถ้าคุณมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
คุณจะได้รับบัตรเลือกตั้งซึ่งคุณจะนำไปที่คูหาเลือกตั้ง
Ø ลงคะแนนเสียงของคุณโดยการทำเครื่องหมายกากบาท
(X) ลงในช่องหน้าตัวอักษรที่แสดงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งที่คุณต้องการลงคะแนนเสียงให้
Ø หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการลงคะแนนเสียงคุณสามารถสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งเพื่อขอรับความช่วยเหลือได้
Ø หากบัตรเลือกตั้งของคุณเสียหายไม่ว่าด้วยเหตุผลใดแสดงบัตรเลือกตั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งและขอรับบัตรใหม่ได้
Ø เมื่อคุณลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้ว
พับบัตรเลือกตั้ง ใส่บัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้ง และออกจากหน่วยเลือกตั้ง
1.
สัญชาติไทย
หรือผู้มีสัญชาติไทยโดยได้แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2.
อายุไม่ต่ำกว่า
18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง ในปีนี้ถึงว่า
ต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบรูณ์ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
3.
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า
90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
1.
ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
2.
อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง
3.
ต้องคุมขังโดยใช้กฎหมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ออกโดยกฎหมาย
4.
วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ
ตัวอย่างวิดีโอวิธีการและขั้นตอนการเลือกตั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น